Monday, May 3, 2010

Co-enzyme Q10

Q10 มีชื่อเรียกกันอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็น Co-enzyme Q10 หรือ CoQ10 หรือ Ubiquinone หรือ Ubiquinole หรือ Ubidecarenone หรือ Ubiquitous หรือ Coenzyme quinone มีชื่อเรียกทางเคมีว่า “2 ,3-dimethoxy-5-methyl-6-decaprenyl benzoquinone.”

จากการศึกษาราย ละเอียดพบว่า Q10 เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อร่างกาย Q10 เป็นสารประกอบคล้ายวิตามินที่มีคุณสมบัติในการละลายในไขมัน (Fat-Soluble Vitamin-like Substance) พบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตในร่างกายโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย ซึ่งไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) นี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง ส่วนอวัยวะอื่นๆ ก็พบ Q10 เช่นกันแต่พบค่อนข้างน้อยเนื่องจากอวัยวะดังกล่าวต้องการพลังงานน้อยจึงมีจำ นวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) น้อยตามไปด้วย

Q10 ที่ผลิตในร่างกายนี้ สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) โดยกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ จะสร้างส่วนวงแหวนควิโนน (Quinone Ring) ส่วนสายยาว (side chain) สร้างมาจากอะซีติลโคเอ (Acetyl CoA)โดยอาศัยกระบวนการในร่างกายหลายขั้นตอนร่วมกันกับวิตามิน 7 ชนิด คือ วิตามินบี 2 (Riboflavin) วิตามินบี 3 (Niacinamide) วิตามินบี 6 กรดโฟลิก (Folic Acid) วิตามินบี 12 วิตามินซี และกรดแพนโททีนิก (Pantothenic Acid)

► ไทโรซีน (Tyrosine) ช่วยให้เซลล์แก่ช้าและควบคุมศูนย์กลางความรู้สึกหิวในไฮโปแธลลามัสส่วนใต้ ของสมอง

► ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมธัยรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยไม่ให้ผมหงอก และผิวแห้งตกกระ รวมทั้งป้องกันผิวหนังอักเสบจากการแพ้แสงแดด

มีรายงานเกี่ยวกับ Q10 ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสิ่งสำคัญคือมีผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ พบว่า Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างชัดเจน จึงทำให้มีการจ่าย Q10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมากมาย

Q10 ทำงานอย่างไร
Q10 ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นนี้จะทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หลัก (Key Enzyme) ในวงจรเครป หรือวงจรกรดซิตริก (Kreb ’s or Citric Acid Cycle) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาหารพวกคาร์โบไอเดรตและไขมันให้อยู่ ในรูปของพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ โดยหน้าที่ของเอนไซม์ทั่วไป ก็คือจะเข้าไปช่วยเร่งปฏิกิริยาภายในร่างกาย โดยตัวของเอนไซม์เองไม่ถูกทำลาย หรือถูกเปลี่ยนแปลงเมื่อปฏิกิริยาดังกล่าวสิ้นสุดลง เนื่องจาก Q10 มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อระดับของ Q10 มีการเปลี่ยนแปลงไปก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย

โดย สรุป Q10 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้พลังงานแก่เซล ดังนั้นเซลที่ยังมีชีวิตก็จะมีความต้องการพลังงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม ต่างๆ ก็จะต้องการ Q10 เช่นกัน อีกทั้งเซลที่ต้องการพลังงานสูงก็จะต้องการ Q10 มากกว่าเซลที่ต้องการพลังงานน้อย จึงเป็นเหตุที่เราจะพบ Q10 มากในเซลหัวใจ ดังนั้นหากขาด Q10 ก็จะมีผลให้การทำงานในเซลผิดปกติ ส่งผลให้เซลตายได้

ประโยชน์ของ Q10
มี การกล่าวเกินจริงเกี่ยวกับ Q10 มากมายทั้งๆ ที่ยังอยู่ในขั้นการทดลองและยังไมได้สรุปผลออกมา เช่น หาว่าช่วยชลออาการโรคพาร์กินสัน เพิ่มแข็งแรงของผู้ป่วยโรคเอดส์ ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพิ่มพละกำลังในพวกนักกีฬา เป็นต้น

แต่ ในทางกลับกัน ก็มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า Q10 ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น ถ้าหากขาด Q10 กล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแรงลงและทำงานได้ไม่ดี ทำให้มีการใช้ Q10 เกี่ยวกับการช่วยบำรุงหัวใจอย่างกว้างขวาง และในญี่ปุ่น 10%ของคนญี่ปุ่นมีการรับประทาน Q10 เป็นประจำ

1.โรคหัวใจและหลอดเลือด
ในผู้ป่วย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณ คลอเลสเตอรอล ในเลือดสูงเกินไป จนทำให้ไปอุดตามหลอดเลือดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายไปบางส่วน ซึ่ง Q10 ช่วยแก้ปัญหาได้โดยไปยับยั้งไม่ให้ คลอเลสเตอรอล จับเป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด

ใช้รักษา โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (congestive heart failure) ทั้งนี้ผู้ป่วย โรคหัวใจ ดังกล่าวจะมีแน้วโน้มที่จะสัมพันธ์กับการขาด Q10 ดังนั้นเมื่อผู้ป่วย โรคหัวใจ ได้รับ Q10 จึงทำให้หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งด้วยคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระคล้ายกับวิตามินอี Q10 จะทำหน้าที่ช่วยยับยั้งอุดตันของเส้นเลือดของ คลอเลสเตอรอล

เคยมีการ ศึกษาในผู้ป่วย โรคหัวใจ เนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (congestive heart failure) มากกว่า 2,500 คนแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มหนึ่งได้รับ Q10 อีกกลุ่มหนึ่งให้ยาหลอกเพื่อดูว่า Q10 มีประโยชน์กับผู้ป่วยจริงหรือไม่ เป็นเวลา 12 เดือน ผลปรากฎว่า 80% มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน อาการบวมของข้อเท้าลดลง อาการหายใจถี่ๆ ลดลง การนอนหลับดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับ Q10 ทุกวันๆ ละ 100 มิลลิกรัม ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกกลับมีอาการแย่ลงต้องเข้าในโรงพยาบาลมากกว่า ผู้ที่ได้รับ Q10 ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตก็ไม่แตกต่างกัน

ไม่ใช่ ทุกการศึกษาที่แสดงถึงประโยชน์ของ Q10 เมื่อไม่นานนี้มีการศึกษาในผู้ป่วย โรคหัวใจ ดังกล่าวระดับปานกลางถึงรุนแเรงจำนวน 46 คน ให้รับประทาน Q10 (ไม่มีใครได้รับประทานยาหลอด) เป็นเวลา 6 เดือนพบว่าอาการต่างๆ ไม่ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของ Q10 กับประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตจาก โรคหัวใจ

ในการรักษา อาการปวดร้าวบริเวณหน้าอก (angina) และอาการหัวใจเต้นผิดปกติ พบว่าอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอดจะลดลงเมื่อผู้ป่วยได้รับ Q10 อีกทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหามีอาการทำงานและการเต้นของหัวใจผิดปกติก็พบว่า Q10 มีส่วนช่วยในอาการดังกล่าวเช่นกัน

นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหา โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบันประชาชนประมาณ 1 ใน 3 มีปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคดังกล่าวถือว่าเป็นภัยเงียบต่อกลุ่มคนดังกล่าว และก็เชื่อกันว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักมีอาการขาด Q10 การรับประทาน Q10 อาจจะช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้น และยังช่วยอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Q10 มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับ โรคหัวใจ และหลอดเลือดอย่างชัดเจน

2.โรคอัลไซเม อร์
โรค อัลไซเมอร์ เป็นโรคของการเสื่อมทางสติปัญญาที่พบได้เมื่อวัยมากขึ้น อาการของโรคนี้ คือ ความจำเสื่อม หลงลืมตัวเองและคนในครอบครัว ซึมเศร้า สับสน นอนไม่หลับ ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้ สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับบาดเจ็บ เลือดคลั่งในศรีษะ และความเสียหายที่เกิดจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระ (free radical) การรับ Q10 เข้าไปในร่างกายสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เนื่องจากใน Q10 มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย ไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น

และเนื่องจากคุณสมบัติในการต้าน อนุมูลอิสระของ Q10 ที่สามารถช่วยปกป้องการทำลายของอนุมูลอิสระในสมอง และโรคชรา จะเห็นได้ว่าหมอบางคนแนะนำให้กับผู้ป่วยที่อายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไปให้รับประทาน Q10 เพื่อที่จะช่วยอาการขี้หลงขี้ลืม และช่วยชลอการทำลายของเซลสมองอันเนื่องมาจากโรค อัลไซเมอร์ และโรคชรา แต่อาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนด้วย

3. ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
Q10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) และเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง ดังนั้นจึงนำ Q10 มาใช้เป็นเครื่องสำอางสำหรับลดการเกิดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด (Photoaging)กล่าวคือ ผิวหนังจะมีหน้าที่ในการป้องกันสารพิษ เชื้อโรค และรังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet) จากแสงอาทิตย์ โดยรังสีอุลตราไวโอเลต (UV) มี 2 ชนิด คือ UVA และ UVB แต่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดริ้วรอยจะเป็นรังสี UVA โดย UVA สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ และจะเริ่มต้นในการผลิตอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งอนุมูลอิสระดังกล่าวนี้ผลิตจากกระบวนการออกซิเดชั่น (Oxidation) และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ก็จะทำอันตรายต่อไขมัน โปรตีน และสารพันธุกรรม (DNA) ในเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย หมองคล้ำได้ แต่ร่างกายก็จะมีกระบวนการป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระดังกล่าวโดย กระบวนการทางธรรมชาติ กล่าวคือ ที่ผิวหนังจะมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออก ซิเดชั่น (Antioxidant) เช่น วิตามินอี วิตามินซี โดยสารที่มีฤทธิ์ (Antioxidant) ดังกล่าวจะป้องกันไม่ให้เกิดกระบวนการออกซิเดชั่นที่จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำอันตรายต่อผิวหนัง มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของ Q10 ต่อการลด ริ้วรอยว่าสามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง ซึ่งหมายถึง ทำให้ริ้วรอยนั้นตื้นขึ้นได้ โดยให้กลุ่มทดลองใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Q10 อยู่ 0.3% ทารอบดวงตาเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่า ความลึกของริ้วรอยลดลงถึง 27% เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Q10 อยู่ ดังนั้น Q10 จึงมีส่วนช่วยลดริ้วรอยและชะลอการ เสื่อมของเซลล์ผิวหนังได้เป็นอย่างดี

4.โรคเกี่ยวกับเหงือก
โรค เหงือก ใช้เรียกโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่โดยรอบฟันหรือที่เรียกว่า อวัยวะปริทันต์ ซึ่งทำหน้าที่ในการยึดและพยุงฟันให้คงอยู่ในช่องปาก โรคเหงือกที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อยๆ เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ถูกปล่อยให้สะสมอยู่บนตัวฟัน คราบจุลินทรีย์นี้ประกอบด้วย เชื้อแบคทีเรียหลายชนิดและสารพิษต่างๆ ที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ ขึ้น ในระยะแรกของการอักเสบอาจจะเกิดเฉพาะที่ของเหงือก ทำให้เหงือกเปลี่ยนสีจากสีชมพูซีดเป็นสีแดง มีเลือดออกจากเหงือกเวลาแปรงฟัน เหงือกที่มีลักษณะติดกันจะมีลักษณะบวมฉุ ไม่ยิดติดกับตัวฟัน ทำให้เกิดกลิ่นปาก ในกรณีที่ปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รักษาต่อไป จะสังเกตว่ามีหนองออกมาจากช่องระหว่างเหงือกกับฟัน หรืออาจเป็นฝีที่เหงือก เหงือกจะแยกตัวออกจากฟันและมีการละลายของกระดูกเบ้ารากฟัน ถ้านานๆเข้าฟันจะโยกห่างและรวนผิดที่ หรืออาจจะหลุดออกมาได้ การรับ Q10 เข้าไปในร่างกายจะช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวม ฟันโยก (Periodontitis) ได้

5.อื่นๆ
เนื่องคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของ Q10 จึงทำให้เชื่อว่า Q10 สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรค มะเร็ง ได้ แต่ก็เป็นการศึกษาเล็กๆ หลายๆ ชิ้นเท่านั้นที่แสดงประโยชน์ของ Q10 ในเรื่องดังกล่าว และไม่เพียงเรื่องมะเร็ง ยังมีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงว่า Q10 ให้ผลดีต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย อย่างไรก็ดียังคงต้องการการศึกษามากกว่านี้เพื่อยืนยันผลดังกล่าว

อีก ทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับคลอเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด และได้รับยากลุ่ม Statin drugs ผู้ป่วยดังกล่าวควรจะถูกแนะนำให้รับประทาน Q10 เพราะยากลุ่มดังกล่าวส่งผลต่อการยับยั้งสร้าง Q10 ในร่างกาย

แหล่งของ Q10
Q10 นอกจากสังเคราะห์ขึ้นจากร่างกายมนุษย์แล้ว ในสัตว์และพืชบางชนิดก็เป็นแหล่งอุดมของ Q10 เช่นกัน มีในน้ำมันปลา ปลาทะเลลึก เช่น ปลาซาดีน อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ส่วน หัวใจ ตับ ไตของสัตว์ เนื้อสัตว์ รำข้าว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว น้ำมันถั่วเหลือง บรอคคอลี่ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน เป็นต้น

จากการศึกษาพบว่า Q10 เป็นสารอาหารคล้ายวิตามิน ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ในร่างกาย มีปฏิกิริยาทางชีวเคมี เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญในการสร้างพลังงานในทุกเซลล์ของร่างกาย ถ้าระดับของ Q10 ลดลง ร่างกายจะไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ เลย ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพตามมาได้

ขนาด รับประทาน
ขนาดที่แนะนำคือ 30 มิลลิกรัมต่อวัน แต่สำหรับคนที่มีอาการโรคชรา หรือโรคอื่นๆ ควรรับประทานในขนาดมากขึ้นคือ 50–100 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อผลในการรักษาโรค

ข้อแนะนำในการรับประทาน

►เนื่องจาก Q10 เป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมันได้ ดังนั้นมันจะถูกดูดซึมได้ดีหากรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีไขมัน เช่น ถั่ว เนย หรือจะเห็นได้ว่าแค๊ปซูลที่บรรจุ Q10 มักจะเป็นแค๊ปซูลที่ทำมาจากไขมัน

►เก็บในที่ปราศจากแสง และที่เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง

►ควรรับประทานติดต่อกันนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป เนื่องจากต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มเห็นผลของ Q10

►เนื่องจาก เป็นสารอาหารที่มีราคาค่อนข้างมีราคาสูงควรซื้อจากแหล่งที่มีราคา ถูก

ที่มา: http://www.healthdd.com/article/article_preview.php?id=37

เวชสำอางค์

Sunday, May 2, 2010

หลัก 5 ประการ ช่วยชะลอความแก่และริ้วรอย

หลัก 5 ประการ ช่วยชะลอความแก่และริ้วรอย article

แสงแดดมีภัย- ห่างไกลเสียดีกว่า

พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. เพราะเป็นช่วงที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต UV สูงสุด และหากเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ควรจะหาเกราะป้องกันให้กับผิวพรรณด้วยการทายา กันแดดที่มีค่า SPF Sun Protecting Factor อย่างน้อย 15 ขึ้นไป โดยทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที ที่สำคัญคือควรเลือกใช้ชนิดที่ไม่มีน้ำหอมเจือปน เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นเสมอ

หลีกเลี่ยงการทับ- รอยยับจะไม่เกิด

ท่านอนนับเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการนอนท่าเดิมตลอดเวลาจะทำให้เกิดรอยย่นในด้านที่ถูกทับได้ ฉะนั้นจึงควรเปลี่ยนท่านนอนบ่อยๆ และใช้หมอนทางเตี้ย เพื่อป้องกันผิวหนังย่นจากรอยทับ พยายามหลีกเลี่ยงการบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าซ้ำๆ เพราะจะให้รอยย่นเด่นชัดขึ้น และเมื่อต้องอยู่กลางแดดจ้า ก็ควรที่จะสวมแว่นกันแดด หมวกหรือกางร่ม เพื่อลดอาการหยีตาซึ่งจะเพิ่มรอยตีนกาบริเวณหางตาให้มากขึ้น

กันไว้ดีกว่าแก้ – ดูแลผิวให้ชุ่มชื้น

ผิวหนังของคนเราจะมีส่วนประกอบของน้ำอยู่เกือบ 90% ที่เหลือจะเป็นส่วนของไขมัน และมอยส์เจอไรซิ่งแฟ็กเตอร์ Moisturizing Factor ซึ่งเป็นตัวอมน้ำไม่ให้ระเหยออกไปจากผิว ดังนั้นจึงควรมีการเติมอาหารให้ผิวด้วยโลชั่น หรือครีมที่มีส่วนผสม Moisturizer เพื่อคืนความชุ่มชื้นให้กับผิวพรรณเสมอ และควรให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนทดแทนในปริมาณที่เหมาะสมก็จะช่วยให้ผิวหนังมี ความยืดหยุ่นได้ดี

ใส่ใจอาหาร – ต่อต้านสิ่งเสพติด

พยายามบังคับตนเองรับประทานอาหารให้ครบหมู่ โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี และอี ซึ่งมีสาร Antioxidants แอนตี้ ออกซิแดนท์ ที่มีคุณสมบัติชะลอ การเสื่อมของผิวหนัง ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว และงดเว้นการสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลอฮอล์ ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายเซลล์ผิวหนังให้เสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร

พักผ่อน - ออกกำลังกาย – คลายเครียด

การพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้ผิวพรรณสดใส ขณะที่การออกกำลัยกายก็มีความสำคัญในด้านที่จะช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนดี ขึ้นทำให้ผิวหนังได้รับสารอาหารและออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น ส่วนการทำจิตใจสดใสคลายเครียดนั้นก็เหมือนกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปในตัว

จริงๆ แล้วด้วยกฎเหล็ก 5 ประการนี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการช่วย ชะลอความแก่ให้กับผิวพรรณของคุณ เพียงแต่วิธีการเช่นนี้จะเห็นผลช้าไปเสียหน่อย โดยเฉพาะคนที่มีผิวหยาบกร้านมากเป็นพิเศษอาจจะต้องใช้เวลายาวนานเป็นปีก็ได้

ฉะนั้น...คุณผู้หญิงที่มีผิวหยาบกร้านเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเพิ่มขึ้นตอนการบำรุงที่มากเป็นพิเศษช่วยด้วย โดยการจัดการกับเซลล์ที่กร้านหรือแก่ให้หลุดลอกออกไปให้ผิวใหม่เกิดขึ้นมา ทดแทนด้วย ซึ่งนับเป็นวิธีการลบริ้วรอยความเหี่ยวย่นของผิวพรรณที่ค่อนข้างได้ผล

ที่มา: หลัก 5 ประการ ช่วยชะลอความแก่และริ้วรอย และ http://hilight.kapook.com/view/11437

ความรู้ทั่วไป.....กับโคเอ็นไซม์ คิวเทน

ความรู้ทั่วไป.....กับโคเอ็นไซม์ คิวเทน article

โคเอ็นไซม์ คิวเทน ( Coenzyme Q10 ) คืออะไร


คือ โคเอ็นไซม์ คิวเทน หรือ วิตามิน Q เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างพลังงาน ของเซลล์ร่างกายที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ต่างๆในร่างกาย


โคเอ็นไซม์ คิวเทน ( Coenzyme Q 10 ) มาจากไหน


Coenzyme Q10 ตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเองภายในเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต และยังพบที่เซลล์อื่นๆอีก เช่น ที่ผิวหนังโดยที่ชั้นหนังกำพร้าละหนังแท้แต่จะมีจำนวนลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับจากการรับประทานอาหารจำพวกปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน เนื้อสัตว์ประเภทไก่ ถั่ว เมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดขาวผลไม้เปลือกแข็งผักเช่น บร๊อคโคลี่ ปวยเล้ง


โคเอ็นไซม์ คิวเทน ( Coenzyme Q10 ) ดีอย่างไรต่อร่างกาย


คุณสมบัติเด่นของ Coenzyme Q10 เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระนั่นคือสามารถชะลอความแก่ได้ โดยที่ Coenzyme Q10 สามารถสร้างพลังงานให้กับผิวเพื่อในการแบ่งเซลล์ ทำให้ริ้วรอยต่างๆสามารถลดลงและเลือนหายไป นอกเหนือจากคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและชะลอความแก่ได้ Coenzyme Q10 ยังมีคุณสมบัติต่างๆเช่นในการทำงานของหัวใจดีขึ้น ช่วยเสริมเกราะภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นป้องกันและรักษาโรคเหงือกความดันเลือดสูง คลอเรสเตอรอลสูง


การทำงานของโคเอ็นไซม์ คิวเทน


การทำงานของโคเอ็นไซม์คิวเทน ทำตัวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คล้ายกับวิตามินซี วิตามินอีช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าโจมตีโมเลกุลไขมันในเซลล์ ช่วยรักษาผนังของเซลล์ให้คงสภาพสมบูรณ์ โคเอ็นไซม์ คิวเทน ออกฤทธิ์ในอวัยวะของเซลล์ ส่วนที่เรียกว่า
โบโตคอนเครีย ซึ่งเป็นเหมือนโรงงานสำคัญ ที่ผลิตพลังงานสำหรับเซลล์ทำหน้าที่สันดาปโดยใช้ออกซิเจนด้วยกระบวนการที่เรียกว่าไอโออีเนอเจติตส์


ผลการศึกษาโคเอ็นไซม์ คิวเทน


ผลการศึกษาของอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยบอสตัน พบว่า Q10 ช่วยยับยั้งการจับตัวเป็นก้อนแข็งของคลอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดงหัวใจ จึงป้องกันเส้นเลือดอุดตันของหัวใจด้วยและยังพบด้วยว่าการออกฤทธิ์แบบนี้แรงกว่าวิตามินอีและเบต้าแคโรทีนเสียอีก


นอกจากนี้ยังพบว่า โคเอ็นไซม์ Q10 ยังมีฤทธิ์ช่วยป้องกันการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลวเรียกว่า Cardiomyopathy ซึ่งหมายถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ จนทำงานล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้เรียกว่าโรคหัวใจโตซึ่งเกิดจากการขยายใหญ่ขึ้นของหัวใจ แต่ประสิทธิภาพของการทำงานกลับลดลง สูบฉีดโลหิตได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและไม่มีแรง


จากการศึกษาในคนไข้ชาวอิตาเลียนกว่า 2,500 ราย พบว่ากว่าร้อยละ 80 มีอาการของโรคหัวใจดีขึ้นเมื่อกินโคเอ็นไซม์ คิวเทน วันละ100 มิลลิกรัม


ส่วนประเทศญี่ปุ่น มีการทำวิจัยไว้ถึง 25 ชิ้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 70 มีอาการดีขึ้นจากโรคหัวใจปัจจุบันโคเอ็นไซม์ คิวเทน เป็นยาตามใบสั่งที่มีขายทั่วไปประเทศญี่ปุ่นหลายแห่งสังเคราะห์และผลิตโคเอ็นไซม์ คิวเทนจำหน่ายทั่วโลก


ความมหัศจรรย์ของ โคคิว 10


โคคิว 10 หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ ยูบิควิโนน (Ubiauinone) เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุขภาพและการอยู่รอด มีอยู่ในเซลล์ของมนุษย์ทุกเซล โคคิว 10 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายเทอีเลคตรอนสำหรับไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ มีรูปร่างคล้ายซิการ์ ร่างกายเรามีไมโตคอนเดรียหลายพันล้านอันที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับร่างกายเรา โคเอนไซม์ คิว 10 เป็นสารประกอบแอนติออกซิแดนท์ที่เหมือนกับวิตามินเค สร้างขึ้นที่ตับและเซลล์อื่นๆ แม้ว่าร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ยังขาดสารเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหัวใจล้มเหลว โคเอนไซม์ คิว 10 มี มากรในเครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์, ปลา, ถั่วต่างๆ, ผักพวยเล้ง และบร๊อคโคลี่ ในรูปอาหารเสริมสามารถหาซื้อได้ในร้านอาหารสุขภาพ


โรคที่เกิดจากการมีคิว 10 ไม่เพียงพอ


โลกที่มีความเครียดสูงอย่างนี้ ผู้คนส่วนมากไม่ได้รับโคคิว 10 อย่างเพียงพอถึงแม้เราจะอยู่ได้ทั้งๆ ที่ไม่มีคุณภาพพร้อมไปกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแอ, ความบกพร่องทางระบบประสาท, ความคิดความอ่านช้า, โรคหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง, ความอ้วน, ความดันโลหิตสูง, อ่อนเพลีย, ปวดเค้นในอก หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเหล่านี้ล้วนมาจากการมีระดับโคคิว 10 ต่ำ การขาดโคคิว 10 เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนมากมาจากสาเหตุมาจากโภชนาการที่ไม่ดี หรือโรคบางชนิดที่ต้องการโคคิว 10 มากกว่าที่ร่างกายจะสร้างขึ้น กลุ่มที่ขาดโคคิว 10 อีกพวกหนึ่งคือ ผู้สูงอายุที่ร่างกายผลิตสารแอนติออกซิแดนท์ ได้น้อยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


โคคิว 10 กับหัวใจ


เนื่องจากหัวใจต้องเต้นโดยเฉลี่ยวันละ 100,000 ครั้ง มันจึงต้องการพลังงานอย่างต่อเนื่องซึ่งจะต้องใช้โคคิว 10 ปริมาณมาก โรคหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่งอาจเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เพราะหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้อย่างเพียงพอ ผู้ป่วยจึงค่อยๆ ถูกขโมยลมหายใจและพลังงานไป การศึกษาหลายครั้งได้ถูกรวบรวมไว้โดยระบุถึงความสามารถของโคคิว 10 ในการลดอาการหัวใจล้มเหลว โดยมีการศึกษาครั้งหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Therapeutics พบว่าการใช้โคคิว 10 เป็นอาหารเสริมทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้มากกว่า 15.7 เปอร์เซ็นต์ และทำให้การออกกำลังกายได้นานขึ้น 25.4 เปอร์เซ็นต์


ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis)


โรคที่ร้ายแรงอีกชนิดหนึ่งคือ โรคหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary artery disease หรือ CAD) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดหัวใจล้มเหลว สิ่งสำคัญในการเกิด CAD นี้ก็คือการสะสมตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงโดยตรง ซึ่งทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis) โคคิว 10 ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง โดยไปจำกัดปริมาณไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดสามารถลดแผลช้ำที่เกิดจากผนังหลอดเลือดแข็งด้าง ทำให้หลอดเลือดมีความคงตัวดีขึ้น


เจ็บเค้นในอก (Angina) ความดันโลหิตสูง


ผู้ที่รับประทานโคคิว 10 มีอาการเจ็บเค้นในอกลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ และสามารถออกกำลังกายได้ยาวนานขึ้น ยังช่วยผู้ที่มีความดันโลหิตสูง การใช้โคคิว 10 รักษาเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ทำให้ความดันเลือดตัวบน (Systolic) ลดลง 20 จุด และความดันตัวล่าง (Diastolic) ลดลง 10 จุด


โคคิว 10 กับกล้ามเนื้อ


เนื่องจากส่วนใหญ่ของหัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อ โคคิว 10 นั้นมีส่วนช่วยผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อเสื่อมสลาย (Dystrophy) ในการทดลองแบบ Double-Blind สองครั้งโดยมีการควบคุมติดตามผลอาการกล้ามเนื้อเสื่อมสลาย นักวิจัยพบว่า การให้โคคิว วันละ 100 มก. ช่วยทำให้ การทำงานของสรีระดีขึ้น การทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้นและอาการอ่อนเพลียลดลง


โคคิว 10 กับสมอง


โรคพาร์คินสัน เป็นความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้มากที่สุด โดยมีผลต่อผู้ที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 74 ปี อยู่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูงอายุกว่า 85 ปี โรคพาร์คินสันซึ่งเกิดจากการถูกทำลายของประสาทพิเศษชื่อว่า Striatal dopaminergic neurons ที่อยู่ลงลึกไปในสมองพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีระดับโคคิว 10 ต่ำ การศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า การให้โคคิว 10 เป็นอาหารเสริมช่วยชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประสาทพิเศษเหล่านี้ลงได้จริงๆ โคคิว 10 เองก็เป็นการรักษาแบบธรรมชาติ อย่างแรกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการต่อสู้กับโรคที่ทำให้เกิด
การทำลายอย่างร้ายแรงชนิดนี้ โรคทางระบบประสาทที่ร้ายแรงอีกชนิดคือ โรคฮันทิงตัน
(Huntington’s diease) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่หายยากและร้ายแรงถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมร่างกาย และต้องทนทุกข์กับสภาพความคิดความอ่านที่เสื่อมถอยลง
โชคร้ายที่ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดีในการรักษา อย่างไรก็ดี ในการศึกษาแบบใช้ยาหลอกแบบสุ่มโดยมีการควบคุมที่ตีพิมพ์ในวารสาร
Neurology ก็พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานโคคิว 10 มีการเสื่อมทางประสาทลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาโรคฮันทิงตันได้ โคคิว 10 ก็เป็นสารชนิดแรกที่สามารถชะลออาการของโรคให้ช้าลงได้


โรคหัวใจกับโคเอนไซม์คิว 10


หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะเพียงไม่กี่ชิ้นในร่างกายที่ต้องทำงานติดต่อกันโดยที่ไม่หยุด ดังนั้นกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardium) จึงต้องการพลังงานมาก หากเกิดสภาวะใดก็ตามที่ทำให้ระดับโคคิว 10 ลดลง จะมีผลต่อการผลิตพลังงานให้แก่หัวใจ ทำให้มีแนวโน้มที่จะถูกฟรี แร็ดดิคัล จู่โจมได้ง่ายความเครียดที่เกิดจาก ฟรีแร็ดดิคัล จะแสดงให้เห็นอาการได้ง่าย ถ้าปล่อยให้อาการหัวใจล้มเหลวเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเกิดอันตรายได้ หัวใจจึงต้องการโคคิว 10 ในปริมาณที่มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 300 ถึง 400 มก. กรณีการเกิดหัวใจล้มเหลวในเพศชายนั้นสามารถระบุสาเหตุได้ ในสตรีมักเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ จากการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นสตรีทำให้เชื่อว่า อาการหัวใจล้มเหลวโดยส่วนมากนั้นเกิดจากอาการขาดโคคิว 10 ลดลงจนเป็นอันตราย ทำให้สูญเสียพลังงานในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งประสบการณ์ของผู้เขียนใช้โคคิว 10 มาตั้งแต่ปี 1986 โดยให้ครั้งแรกแก่คนไข้ที่ทำการผ่าตัดบายพาส เพียงครั้งละ 10 มก. วันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่นั้นมาก็ให้เพิ่มปริมาณการใช้ขึ้นกว่าตอนแรก ปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายประเทศ และพันคนที่รับประทานโคคิว 10 ในปริมาณที่ต่างกันออกไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน เพราะหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อโคคิว 10 ในปริมาณที่ต่ำ ก็จะต้องเพิ่มปริมาณเข้าไปและคงระดับนั้นเอาไว้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องให้ได้รับวันละ 500 มก. หรือมากกว่านั้นเพื่อให้เกิดผลในการรักษา


Congestive Heart Failure (CHF)


หัวใจล้มเหลวเพราะเลือดคั่ง (CHF) ร้ายแรงที่สุด มักจะทำให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อสตรีวัย 70 ถึง 80 ปี อัตราการรอดชีวิตมีน้อยกว่ามะเร็งเต้านม และมักจะเป็นอาการขั้นสุดท้ายของโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) ความดันโลหิตสูง, อาการขาดโลหิตเฉพาะที่เนื่องมาจากหลอดเลือดอุดตัน(Is-chemia) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction), ติดสุราเรื้อรัง หรือการติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน ผู้ป่วยหนึ่งในสาม ป่วยด้วยโรคนี้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความเป็นไปได้สูงที่ว่าผู้ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุนั้นอาจเนื่องมาจากด้านโภชนาการ เนื่องจากผู้หญิง (และผู้ชาย) สูงอายุต่างก็มีระดับโคคิว 10 และสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ ลดลง การศึกษาทางคลินิกวิทยาหลายครั้ง หลายแห่งได้รวบรวมข้อมูลและผลดีต่างๆ ของโคเอนไซม์คิว 10 สารนี้แสดงให้เห็นความสามารถในการทำให้อาการเจ็บเค้นในหน้าอกดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า โคคิว 10 ช่วยทำให้คนไข้หายจากการป่วยและฟื้นตัวเร็วกว่าจากการผ่าตัดบายพาสยังช่วยบรรเทาพิษที่เกิดจากยาที่ใช้ในการลดโคเลสเตรอรอลและเคมีบำบัด


ที่มา: ความรู้ทั่วไป.....กับโคเอ็นไซม์ คิวเทน

ประวัติโลชั่นกันแดด

โลชันกันแดดเป็นประดิษฐกรรมสมัยใหม่ อุตสาหกรรมการผลิตโลชันกันแดดเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อรัฐบาลอเมริกันต้องการครีมทาผิวเพื่อช่วยปกป้องบรรดานาวิกโยธินซึ่งประจำการอยู่ในแถบแปซิฟิกจากการถูกแดดเผาอย่างรุนแรง การอาบแดดจนกระทั่งทั่วทั้งตัวกลายเป็นสีทองบรอนซ์ ก็เป็นปรากฏการณ์สมัยใหม่เช่นเดียวกัน
ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ผู้คนในหลายวัฒนธรรมต่างพยายามป้องกันผิวพรรณของตนไม่ให้ดำคล้ำจากการตากแดดครีมและน้ำมันซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสังกะสีออกไซด์ในปัจจุบัน ใช้กันในสังคมตะวันตกเป็นจำนวนมากพอ ๆ กับความนิยมในการใช้ร่มเพื่อบังแดด กรรมกรตามไร่นาเท่านั้นที่มีผิวดำเกรียม ในขณะที่ผิวขาวเป็นเครื่องบ่งชี้ความมีฐานะในสังคม

สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา มีปัจจัย ๒ ประการที่เอื้อต่อการกำเนิดขึ้นของโลชันกันแดด ประการแรก ก่อนหน้าช่วงค.ศ. ๑๙๒๐-๑๙๒๙ คนอเมริกันส่วนใหญ่อาศัยลึกเข้าไปในทวีปห่างไกลจากชายทะเล จนกระทั่งเมื่อมีรถไฟช่วยนำคนจำนวนมากไปถึงเมืองตากอากาศชายทะเล การเล่นน้ำทะเล

จึงได้กลายเป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ประการที่ ๒ ในยุคนั้นชุดอาบน้ำยังปกปิดร่างกายเกือบทุกส่วนไว้ ดังนั้นการทาโลชันกันแดดก่อนลงเล่นน้ำจึงไม่จำเป็นเลย จนทศวรรษต่อมาเมื่อชุดอาบน้ำเริ่มเปิดเผยส่วนของร่างกายมากขึ้น ๆ และการมีผิวสีบรอนช์กลายเป็นแฟชั่นของยุคสมัย ความเสี่ยงจากการถูกแดดเผาจึงมีมากขึ้นตามลำดับ

แรกเริ่มทีเดียว ผู้ผลิตไม่คาดว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดจะมีตลาดรองรับมากนัก เพราะโดยทั่วไปเมื่อคนลงเล่นน้ำทะเลอยู่กลางแดดสักพักหนึ่งแล้ว จะเข้าไปพักใต้ร่มกันแดดหรือสวมเสื้อผ้าปิดบังผิวกาย แต่ทหารอเมริกันซึ่งปฏิบัติการภายใต้แสงแดดอันร้อนแรงของประเทศฟิลิปปินส์ ทำงานบนดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือติดอยู่บนแพซึ่งล่องลอยกลางมหาสมุทรแปชิฟิก ไม่อาจหลบเข้าใต้ร่มเงาได้ ดังนั้นในราวต้นช่วง ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๙ รัฐบาลอเมริกันจึงเริ่มให้มีการทดลองผลิตตัวยาป้องกันแดดขึ้น

ยาตัวแรกซึ่งมีประสิทธิภาพดีที่สุดในเวลานั้น คือ ขี้ผึ้งเพโทรลาทัมสีแดง (red petrolatum) ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมออกจากน้ำมันดิบ สีแดงตามธรรมชาติของเพโทรลาทัมช่วยสกัดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ หน่วยบินของกองทัพสหรัฐฯ จะจ่ายขี้ผึ้งดังกล่าวให้แก่บรรดานักบินเมื่อต้องออกบิน ในกรณีที่พวกเขาอาจต้องบินไปยังแถบเขตร้อน

นายแพทย์เบนจามิน กรีน ผู้มีส่วนช่วยกองทัพในการพัฒนาตัวยาป้องกันแดด เชื่อว่าตลาดของผลิตภัณฑ์ตัวนี้จะกว้างขวางมาก และยังไม่ได้รับการตอบสนองเลย ภายหลังสงครามเขาได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปอีกขั้นหนึ่ง ครั้งนี้นายแพทย์กรีนสามารถผลิตโลชันกันแดดสีขาวบริสุทธิ์ ทั้งยังมีกลิ่นหอมของดอกมะลิ ผลิตภัณฑ์ล่าสุดนี้ช่วยให้ผู้ใช้มีผิวออกโทนสีทองแดง (copper) นายแพทย์กรีน จึงให้ชื่อผลิตภัณฑ์ของเขาว่า “คอปเปอร์โทน” ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกตามชายหาดราวช่วง ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๙ นับเป็นการเริ่มต้นของกิจกรรมการอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ซึ่งต่อมานิยมแพร่หลายมากในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่ว