Sunday, May 2, 2010

ประวัติโลชั่นกันแดด

โลชันกันแดดเป็นประดิษฐกรรมสมัยใหม่ อุตสาหกรรมการผลิตโลชันกันแดดเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อรัฐบาลอเมริกันต้องการครีมทาผิวเพื่อช่วยปกป้องบรรดานาวิกโยธินซึ่งประจำการอยู่ในแถบแปซิฟิกจากการถูกแดดเผาอย่างรุนแรง การอาบแดดจนกระทั่งทั่วทั้งตัวกลายเป็นสีทองบรอนซ์ ก็เป็นปรากฏการณ์สมัยใหม่เช่นเดียวกัน
ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ผู้คนในหลายวัฒนธรรมต่างพยายามป้องกันผิวพรรณของตนไม่ให้ดำคล้ำจากการตากแดดครีมและน้ำมันซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสังกะสีออกไซด์ในปัจจุบัน ใช้กันในสังคมตะวันตกเป็นจำนวนมากพอ ๆ กับความนิยมในการใช้ร่มเพื่อบังแดด กรรมกรตามไร่นาเท่านั้นที่มีผิวดำเกรียม ในขณะที่ผิวขาวเป็นเครื่องบ่งชี้ความมีฐานะในสังคม

สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา มีปัจจัย ๒ ประการที่เอื้อต่อการกำเนิดขึ้นของโลชันกันแดด ประการแรก ก่อนหน้าช่วงค.ศ. ๑๙๒๐-๑๙๒๙ คนอเมริกันส่วนใหญ่อาศัยลึกเข้าไปในทวีปห่างไกลจากชายทะเล จนกระทั่งเมื่อมีรถไฟช่วยนำคนจำนวนมากไปถึงเมืองตากอากาศชายทะเล การเล่นน้ำทะเล

จึงได้กลายเป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ประการที่ ๒ ในยุคนั้นชุดอาบน้ำยังปกปิดร่างกายเกือบทุกส่วนไว้ ดังนั้นการทาโลชันกันแดดก่อนลงเล่นน้ำจึงไม่จำเป็นเลย จนทศวรรษต่อมาเมื่อชุดอาบน้ำเริ่มเปิดเผยส่วนของร่างกายมากขึ้น ๆ และการมีผิวสีบรอนช์กลายเป็นแฟชั่นของยุคสมัย ความเสี่ยงจากการถูกแดดเผาจึงมีมากขึ้นตามลำดับ

แรกเริ่มทีเดียว ผู้ผลิตไม่คาดว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดจะมีตลาดรองรับมากนัก เพราะโดยทั่วไปเมื่อคนลงเล่นน้ำทะเลอยู่กลางแดดสักพักหนึ่งแล้ว จะเข้าไปพักใต้ร่มกันแดดหรือสวมเสื้อผ้าปิดบังผิวกาย แต่ทหารอเมริกันซึ่งปฏิบัติการภายใต้แสงแดดอันร้อนแรงของประเทศฟิลิปปินส์ ทำงานบนดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือติดอยู่บนแพซึ่งล่องลอยกลางมหาสมุทรแปชิฟิก ไม่อาจหลบเข้าใต้ร่มเงาได้ ดังนั้นในราวต้นช่วง ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๙ รัฐบาลอเมริกันจึงเริ่มให้มีการทดลองผลิตตัวยาป้องกันแดดขึ้น

ยาตัวแรกซึ่งมีประสิทธิภาพดีที่สุดในเวลานั้น คือ ขี้ผึ้งเพโทรลาทัมสีแดง (red petrolatum) ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมออกจากน้ำมันดิบ สีแดงตามธรรมชาติของเพโทรลาทัมช่วยสกัดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ หน่วยบินของกองทัพสหรัฐฯ จะจ่ายขี้ผึ้งดังกล่าวให้แก่บรรดานักบินเมื่อต้องออกบิน ในกรณีที่พวกเขาอาจต้องบินไปยังแถบเขตร้อน

นายแพทย์เบนจามิน กรีน ผู้มีส่วนช่วยกองทัพในการพัฒนาตัวยาป้องกันแดด เชื่อว่าตลาดของผลิตภัณฑ์ตัวนี้จะกว้างขวางมาก และยังไม่ได้รับการตอบสนองเลย ภายหลังสงครามเขาได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปอีกขั้นหนึ่ง ครั้งนี้นายแพทย์กรีนสามารถผลิตโลชันกันแดดสีขาวบริสุทธิ์ ทั้งยังมีกลิ่นหอมของดอกมะลิ ผลิตภัณฑ์ล่าสุดนี้ช่วยให้ผู้ใช้มีผิวออกโทนสีทองแดง (copper) นายแพทย์กรีน จึงให้ชื่อผลิตภัณฑ์ของเขาว่า “คอปเปอร์โทน” ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกตามชายหาดราวช่วง ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๙ นับเป็นการเริ่มต้นของกิจกรรมการอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ซึ่งต่อมานิยมแพร่หลายมากในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่ว

No comments:

Post a Comment